เทรนด์หนึ่งที่เห็นได้ชัดจากสถิ ติการเติบโตของทั้ง YouTube ที่มีคนดูผ่านทางมือถือมากขึ้ นถึง 90% และยอดเข้าชม LINE TV สูงกว่าปีก่อน 136% ในช่วงปีที่ผ่านมา เข้ามายืนยันถึงไลฟ์สไตล์ผู้ใช้ งานสมาร์ทโฟนในประเทศไทย ที่ไม่ได้ติดอยู่กับการใช้ งานสมาร์ทโฟนเพื่อโซเชียลเน็ ตเวิร์ค แค่การสนทนา หรืออ่านเนื้อหาต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่กำลังขยายออกไปอยู่บนยุคที่ การรับชมคลิปวิดีโอทั้งในช่ วงระหว่างเดินทางบนท้องถนน และใช้เป็นความบันเทิงยามพักผ่ อนในแต่ละวัน
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้เปลี่ ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้งานนั้น ส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างพื้ นฐานอย่างการเชื่อมต่ออินเทอร์ เน็ต ยิ่งในยุคที่การให้บริการ 4G LTE หรือการใช้โมบายดาต้า เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิ ตประจำวัน ผู้ใช้งานเข้าถึงเนื้อหาที่ หลากหลาย รอบด้านมากขึ้น ก็เพิ่มความบันเทิงได้ง่ายขึ้น
การเลื่อนดู LIVE หรือวิดีโอที่น่าสนใจ ผ่านหน้าไทม์ไลน์บน Facebook กลายเป็นกิจวัตรประจำวันเวลาที่ หยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาถืออยู่ในมื อ หรือถ้ามีช่วงเวลาว่างสักชั่ วโมงการรับชมละคร หรือซีรีส์ย้อนหลังจาก Youtube และ LINE TV ได้กลายเป็นทางเลือกให้คนเข้าถึ งคอนเทนต์วิดีโอได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น
ในมุมของผู้ให้บริการ หรือโอเปอเรเตอร์ ที่เห็นข้อมูลสถิติเหล่านี้ชั ดเจน จากปริมาณการใช้งานดาต้าเฉลี่ ยต่อคนต่อเดือนที่ปรับเพิ่มสู งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากในปีที่ผ่านมาอยู่ประมาณเฉลี่ ยเดือนละ 2 GB กลายเป็น 5-6 GB ต่อเดือน จากจำนวนผู้ใช้งานโมบายอินเทอร์ เน็ตในประเทศไทยที่มีอยู่ทั่ วประเทศ
ประกอบกับเมื่อปริมาณแบนด์วิดท์ ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้งานกั บการสตรีมมิ่งคอนเทนต์ที่เป็นวิ ดีโอ ซึ่งต้องใช้ความเร็วที่มากขึ้ นหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับการรั บ –ส่งข้อมูลที่เป็นรูปภาพ หรือตัวอักษร ดังนั้นการให้บริการ 4G LTE จึงได้ถูกปรับแต่งให้รับกับพฤติ กรรมเหล่านี้
เพียงแต่ว่าในปัจจุบันการให้บริ การ 4G LTE ในประเทศไทย จะอยู่บนคลื่นที่ใช้เทคโนโลยีที่ เรียกว่า FDD (Frequency Division Duplex) มาให้บริการ เช่น บนคลื่น 1800 MHz และ 2100 MHz
โดยรูปแบบการทำงานของ FDD จะใช้วิธีการรับ –ส่งข้อมูลบนคลื่ นความถี่ที่แบ่งเป็นคนละชุด และต้องใช้งานรับ –ส่งไปพร้อมๆกั นเป็นคู่กัน เช่น คลื่น 2100 MHz ที่ให้บริการด้วยแบนด์วิดท์ 15MHz นั่นคือจะมีคลื่นแบนด์วิธ 15 MHz สำหรับรับข้อมูลหรือดาวน์โหลด และคลื่นอีกชุดที่มีแบนด์วิดท์ 15 MHz เช่นกันเพื่อทำการส่งข้อมูล คลื่น 2 ชุดทั้งรับและส่งจะต้องใช้ งานควบคู่กันตลอดเวลา แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วพฤติ กรรมผู้ใช้จะเน้นการดาวน์โหลดข้ อมูลก็ตาม
ลองนึกถึงภาพถนนซูเปอร์ไฮเวย์ 6 เลนส์ ที่มีทั้งขาเข้าเมื องและขาออกเมือง มีจำนวนเลนส์ถนนใช้งานเท่ากันฝั่ งละ 3 เลนส์ โดยมีแบริเออร์หรือกำแพงปูนกั้ นกลางแบ่งแนวถนนสำหรับสองฝั่งชั ดเจน ดั้งนั้น การใช้งานแม้ว่าตอนเช้าขาเข้ าเมืองจะมีปริมาณรถมาก ขาออกนอกเมืองปริมาณรถจะน้อย ด้วยการที่ถนนแบ่งชัดเจน เราอาจจะเห็นว่าอีกฝั่งใช้ งานหนาแน่นรถติด อีกฝั่งโล่งมีรถไม่กี่คันวิ่งกั นสบาย แต่เราก็ต้องใช้งานตามที่ กำหนดมาตายตัวแบบนั้น
โดยพื้นฐานการให้บริการของคลื่ นที่ใช้เทคโนโลยีแบบ FDD จะถูกจำกัดด้วยปริมาณแบนด์วิดท์ ที่สามารถมาจัดสรรให้บริการหรื อนำออกมาประมูลใบอนุญาตในปัจจุ บันที่ใบละไม่เกิน 15-20 MHz การให้บริการ 4G หรือการใช้งานดาต้าบนมือถือยิ่ งมีคลื่นกว้างคลื่นมากจะยิ่งดี และยิ่งเป็นคลื่นเดียวที่มี แบนด์วิดท์กว้างมากจะยิ่งดีเพิ่ มไปอีก
แต่แน่นอนว่าเมื่อพฤติกรรมผู้ บริโภคเปลี่ยนไปมาเน้นการใช้ งานดาต้าความเร็วสูง รูปแบบการให้บริการ 4G บนแค่คลื่นที่ใช้การรับ –ส่งแบบ FDD คงไม่ตอบโจทย์การใช้งานต่อเนื่ องในอนาคต เพราะจากสถิติต่างๆ ตอกย้ำให้เห็นถึงรูปแบบการใช้ งานของผู้บริโภคที่เน้นการดาวน์ โหลดข้อมูลเข้ามาในการสตรีมมิ่ งวิดีโอคอนเทนต์ต่างๆ
เทคโนโลยีอย่าง 4G LTE-TDD (Time Division Duplex) จึงถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานที่ ต้องการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเฉพาะการดาวน์โหลดข้อมูลที่ สามารถขึ้นไปใช้งานระดับ Gigabit Network ได้ (ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่รองรับ)
ดังนั้น การที่ดีแทคเข้าไปเป็นพันธมิ ตรกับทางทีโอทีในการให้บริการ 4G LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz มาเปิดให้บริ การจะสามารถตอบโจทย์ความต้ องการใช้งานดาต้าในไทย เพราะคลื่น 2300MHz จะใช้เทคโนโลยีการรับ –ส่งข้อมู ลแบบ TDD ทำให้ยกระดับเครือข่าย 4G LTE ในประเทศไทยให้กลายเป็นผู้นำอั นดับแรกๆ ของโลก ที่ให้บริการ 4G LTE-TDD บนแบนด์วิดท์ที่กว้างถึง 60 MHz และที่สำคัญคือเป็นผืนเดียวติ ดกัน
ในขณะที่ประเทศอื่นๆ แม้แต่ในเกาหลี จีน และญี่ปุ่น ที่มีการนำ 4G LTE-TDD ไปใช้งาน ก็ไม่มีแบนด์วิดท์บนคลื่นเดี ยวกันที่กว้างขนาดนี้
ที่น่าสนใจคือ TDD จะมีรูปแบบการรับ –ส่งข้อมูลที่ แตกต่างจาก FDD เพราะใช้คลื่นเดียวสำหรับการรับ –ส่งข้อมูล แต่เป็นการสลับช่วงเวลาในการรับ –ส่งข้อมูลแทน ทำให้สามารถใช้งานคลื่นเดียวได้ เต็มที่ด้วยการออกแบบคลื่นให้มี ปริมาณการรับ –ส่งข้อมูลตามพฤติ กรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งนี่คือจุดเด่นของ TDD คลื่นที่จะนำมารองรับการใช้ งานดาต้าในอนาคต เพราะส่วนใหญ่ผู้ใช้งานดาต้านั้ นจะใช้งานรูปแบบ downlink มากกว่า ลองนึกถึงการใช้งานของเราที่ดู หนัง หรือโหลดเพลง อ่านคอนเทนท์ต่างๆ บนโลกโซเชียล นี่คือการใช้งานแบบด้าน downlink มากกว่านั่นเอง เราใช้งาน uplink ด้วยเช่นกัน เช่น ถ่ายภาพอัปโหลดขึ้นเฟซบุ๊ก แต่การใช้งานฝั่ง uplink อาจจะด้วยปริมาณไม่มากเท่ากับที่ เราใช้งาน downlink
ตอนนี้ ลองนึกถึงภาพถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ภาพเดิมที่มีทั้งขาเข้าเมื องและขาออกเมือง แต่ถ้าจำนวนถนนที่เรามีทั้งหมด 6 เลนส์ สำหรับรองรับการใช้งาน ไม่ต้องแบ่งเป็นขาเข้าเมือง 3 เลนส์ ขาออกเมือง 3 เลนส์ให้เท่ากันแบบนี้ จะดีกว่าหรือไม่ เพราะถ้าคนใช้งานฝั่งขาเข้าเมื องมากกว่า เราจะออกแบบให้ถนนฝั่งขาเข้าเมื องมี 4 เลนส์ ฝั่งขาออกนอกเมืองมี 2 เลนส์ หรือถ้าคนใช้งานกันแต่ฝั่งเข้ าเมืองเรามาออกแบบเป็น ถนนฝั่งขาเข้าเมือง 5 เลนส์ และฝั่งขาออกนอกเมือง 1 เลนส์พอ แบบนี้จะดีกว่าหรือไม่
กลับมาในมุมของผู้ใช้จะได้ ประโยชน์อะไรจาก 4G LTE-TDD หนึ่งเลยคือ จะได้ความเร็วในการใช้อินเทอร์ เน็ตที่เร็วขึ้น โดยเฉพาะในแง่ของการดาวน์ โหลดคอนเทนต์ เมื่อเทียบกับ 4G บนคลื่นแบบ FDD ดังนั้น 4G บนคลื่น 2300MHz จะให้การใช้งานสตรีมมิ่งวิดี โอคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็น Youtube Facebook Live LINE TV และดูคลิปวิดีโอผ่านช่องทางต่ างๆ ก็จะรวดเร็วขึ้น ลื่นขึ้น
ที่สำคัญ เมื่อคลื่น 2300 MHz มาเปิดให้บริการพร้อมกับ 4G LTE-TDD นี่คือคลื่นใหม่ที่มาเพิ่ มจากคลื่นเดิมอื่นๆ ที่ให้บริการอยู่แล้ว ผู้ใช้บริการไม่ต้องกั งวลในการใช้งานว่ามือถือที่ใช้ จะเลือกจับคลื่นใด หรือใช้เทคโนโลยีอะไร เพราะผู้ให้บริการจะวางแผนเน็ ตเวิร์คและจัดสรรเทคโนโลยีที่ดี ที่สุดมาให้บริการ บนความเร็วในการเชื่อมต่อที่ แรงที่สุดในพื้นที่นั้นๆ มาให้ลูกค้าได้ใช้งาน
สุดท้ายการมาของ 4G LTE-TDD จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ช่ วยยกระดับการใช้งานอินเทอร์เน็ ตความเร็วสูงผ่านเครือข่ายไร้ สายในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สร้างความเท่าเทียมให้แก่ผู้ใช้ งานในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องระดั บไฮเอนด์แต่ก็เข้าถึ งโมบายบรอดแบนด์ได้
539
Like this: Like Loading...
Related
Leave a Reply