ฟาดิ บิชารา ผู้ก่อตั้งบริษัท Blackbox บริษัทที่ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำช่วยเหลือนักธุรกิจ-ผู้ลงทุนมือใหม่ โดยมีประสบการณ์มากกว่า 25 ปีในซิลิคอน วัลเลย์ สหรัฐอเมริกา และกว่า 5 ปีในระดับสากล ทั้งในประเทศจีน และอินเดีย ได้กล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับสตาร์ทอัพไทยและเทรนสตาร์ทอัพโลก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น เรา digimarket.in.th ได้รวบรวมมาให้ทุกท่านเรียบร้อยแล้ว…
หลังจากที่ไม่ได้มาประเทศไทย 2-3 ปี คุณเห็นวิวัฒนาการของสตาร์ทอัพไทยอย่าไรบ้าง
เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วที่ผมไม่ได้มาเมืองไทย แต่ผมก็ติดตามข่าวคราวของสตาร์ทอัพไทยอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเดินทางกว่า 50 ประเทศในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผมได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการที่เปลี่ยนไปของวงการสตาร์ทอัพของโลก เมื่อผมกลับมาเมืองไทยอีกครั้ง ผมได้เห็นสิ่งที่เปลี่ยนไปในด้านบวกมากมายของสตาร์ทอัพในประเทศไทย พวกเขาเก่งขึ้นมาก มีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว มีการนำเสนอแผนงานได้ตรงตามความต้องการของตลาด รวมถึงความสำเร็จในการทำธุรกิจในช่วงระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเหล่านี้สะท้อนถึงศักยภาพทางบวกของสตาร์ทอัพไทยในการแข่งขันในระดับสากล ผมค่อนข้างประทับใจที่วงการสตาร์ทอัพไทยที่มีความจริงใจ ที่จะทำให้ธุรกิจนั้นให้เกิดขึ้นได้จริง มีความมุ่งเน้นในการแก้ปัญหาของสังคมอย่างจริงจัง และมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาสังคมและประเทศไทยให้ดีขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงการสร้างขึ้นมาเพื่อขายออกไป โดยที่ไม่ได้เป็นสิ่งที่คนทั่วไปจับต้องไม่ได้
เมื่อวานนี้ ที่คุณฟาดิ ได้มีโอกาสเข้ามาบรรยายให้กับทีมในโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท ปี 4 นั้น คุณบอกได้ไหมว่า อะไรบ้างที่สาตร์ทอัพไทย ต้องเน้นเป็นพิเศษ
มันเป็นช่วงเวลาที่สนุกมาก เราได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์ในวงการสตาร์ทอัพตลอด 25 ปีที่ผ่านมา ผมได้เล่าให้ฟังถึงหลายๆ สตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีปัจจัยทีไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันในการที่จะทำให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จนั้น คือตัวผู้ก่อตั้ง ตัวผู้ก่อตั้งไม่ใช่แค่มีความคิดที่จะทำธุรกิจให้ได้เงินเพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องเป็นคนที่มีความเข้าใจในปัญหานั้นอย่างลึกซึ้งและแท้จริง และมีความเชื่อมั่นว่าจะสารมารถเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นได้จริง ผมได้เห็นหลายๆ โครงการแล้วมีความชื่นชมในความคิดของสตาร์ทอัพไทยรุ่นนี้ และผมคิดว่าพวกเขาสามารถทำมันได้ และมีโอกาสประสบความสำเร็จในไม่ช้า
พูดถึงโครงการ Blackbox ของคุณ คุณให้คำปรึกษา หรือให้ข้อแนะนำอย่างไรบ้างกับผู้ที่เข้าร่วมโครงการ
ผมจัดโครงการ Blackbox ครั้งล่าสุดไปคือครั้งที่ 16 ซึ่งได้มีสตาร์ทอัพมากมายจากทั่วโลกเข้ามาเรียนรู้ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึงเราได้เห็นการก่อเกิดบริษัทกว่า 14-15 บริษัท จากโครงการนี้ แต่ละครั้งจะใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในการที่ให้เหล่าสตาร์ทอัพ เข้ามาอยู่ด้วยกัน โดยโครงการของผมจะเน้นในตัวผู้ก่อตั้งเป็นลำดับแรก ซึ่งนอกจากจะเรียนรู้จากวิทยากรที่ผมเชิญมาที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้มาแล้วนั้น พวกเขายังได้เรียนรู้จากเพื่อนๆ ของเขาเองภายในโครงการอีกด้วย และหลายๆ ครั้งผมจะเห็นคนที่เข้าโครงการของผม เข้ามาด้วยความคิดหนึ่ง แต่กลับออกไปด้วยแนวคิดใหม่ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนและสามารถนำไปทำธุรกิจได้จริง สิ่งที่พวกเขาได้คือแนวคิดที่เปลี่ยนไป การคิดและแก้ปัญหาออกจากกรอบเดิมๆ ที่คิดมา การมองปัญหาที่ตรงประเด็นและทางแก้ที่ถูกจุด วิธีการทำงานกับนักธุรกิจในแต่ละประเภท วิธีกานนำเสนองานที่ตรงประเด็นและเข้าใจง่าย ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับสากล ซึ่งหลายๆ ธุรกิจนั้นสามารถเสริม ต่อ ขยายไปยังประเทศอื่นๆ ได้อีกมากมาย
หันกลับมาพูดถึงสตาร์ทอัพไทยในปัจจุบันกันบ้าง คุณคิดว่ากำลังเดินทางไปยังทิศทางใด
ผมเห็นพัฒนาการที่รวดเร็วของสตาร์ทอัพไทย ซึ่งตลาดของไทยนั้นอาจจะเรียกได้ว่าแตกต่างกับตลาดอื่นๆ พอสมควร ดังจะเห็นได้จากหลายๆ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับสากล แต่ไม่สามารถทำตลาดในประเทศไทยได้ สตาร์ทอัพไทยส่วนมากเน้นเป็นการทำธุรกิจตรงต่อลูกค้า ที่สามารถตอบโจทย์ที่ตรงประเด็นและลูกค้าสามารถใช้งานได้จริง ไม่ได้มีความซับซ้อนหรือยากต่อการใช้งาน ซึ่งผมมองว่าเป็นทิศทางที่ดีของสตาร์ทอัพไทย
คุณคิดว่าการผลักดันให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จนั้น ทางภาครัฐต้องมีบทบาทในการสนับสนุนหรือไม่อย่างไร
แน่นอน ผมคิดว่าภาครัฐควรมีส่วนช่วยอย่างจริงจังในเรื่องการสร้างความพร้อมในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ภาครัฐควรให้การสนับสนุนอย่างอิสระ ในแต่ละสตาร์ทอัพเพื่อธุรกิจให้เติบโต และแก้ปัญหาของสังคมและพัฒนาประเทศได้ย่างตรงจุด ผมเคยเห็นหลายๆ ครั้งที่ภาครัฐพยายามตีกรอบให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพให้เดินไปในทิศทางที่ต้องการ และสุดท้ายที่สตาร์ทอัพนั้นมีอันต้องล้มเลิกไป ซึงในประเทศไทยผมเห็นสัญญาณที่ดีที่ภาครัฐมีความเข้าใจและสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างจริงจัง
คุณคิดว่ามีด้านไหนบ้างที่ธุรกิจสตาร์ทอัพไทยต้องพัฒนา
สิ่งแรกที่ผมมองเห็นคือ ด้านภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลางของสตาร์ทอัพทั่วโลกใช้กัน หากสตาร์ทอัพของไทยต้องการประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติแล้ว เราต้องเร่งพัฒนาศักยภาพในด้านนี้ เพราะผมเห็นหลายๆ โครงการที่มีความคิดและการการทำธุรกิจอันชาญฉลาด แต่มาติดตรงภาษาอังกฤษ ทำให้พวกเขาไม่สามารถไปไกลกว่านี้ได้
สิ่งที่สองที่ผมอาจจะพูดได้ไม่เต็มปาก แต่ผมคิดว่าประเทศไทยยังขาด Developer ที่เก่งๆ ในตลาด โดยที่อาจจะมาจากระบบการศึกษาที่ยังไม่ได้เน้นด้านนี้อย่างจริงจัง ในแต่ละปีเด็กที่จบใหม่ออกมา จะหันมาเป็น Developer อย่างจริงจังเพียงไม่กี่คน
สิ่งสุดท้ายและสิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดคือ ต้องเปลี่ยนความคิดของสตาร์ทอัพไทย อย่าคิดแค่ที่จะประสบความสำเร็จในประเทศไทย หรืออาเซียน เท่านั้น พวกเขาต้องคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลกให้ได้ ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะไม่สามารถเติบโต หรือออกจากกรอบเดิมๆ ได้ ทั้งที่พวกเขามีศักยภาพเพียงพอ
สุดท้ายอยากให้คุณลองพูดถึงสตาร์ทอัพที่เป็นเทรนในปัจจุบันและที่จะมีอิทธิพลในอนาคต
อันแรกที่ผมนึกได้เลยคือ เทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri Tech) ในการทำเกษตรกรรมที่ใช้ตั้งแต่สัญญาณดาวเทียมลงมาเพื่อดูแลพืชผลการเกษตร เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างมากมาย
อันที่สองผมมองถึงเทคโนโลยีในด้านการดูแลสุขภาพ (Health Tech) ที่ประชาชนบนโลกนี้ ต่างตื่นตัวในด้านการรักษาสุขภาพกันอย่างจริงจัง การที่มีเทคโนโลยีด้านนี้มาจะได้รับการตอบสนองอย่างดี
ส่วนอันที่สามที่ไม่สามารถตัดทิ้งไปได้คือ IOT หรือ Internet of Thing ที่จะเขามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคน ตั้งแต่การปิด เปิดไฟในห้องนอน จนถึงการไปทำงาน ซึ่งเราจะเห็นสตาร์ทอัพหันมาจับเรื่องนี้ย่างจริงจังในรอบหลายปีที่ผ่านมา
Leave a Reply